ข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
การพัฒนา pH-Sensing Film โดยใช้แอนโทไซยานินจากข้าวก่ำเพื่อประยุกต์ใช้เป็นอินดิเคเตอร์ส่าหรับบรรจุภัณฑ์ฉลาด
หมวด : วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี
ผู้แต่ง : -
เนื้อหาย่อ : งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาพีเอชอินดิเตอร์ฟิลม์จากแอนโทไซยานินที่สกัดจากข้าวก่่า (Oryza sativa L.) สำหรับประยุกต์ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ฉลาด ทำการศึกษาหาสูตรฟิลม์พื้นฐานที่เหมาะสมสองสูตร ได้แก่ ไคโตซาน (0.5-2%)/พีวีเอ (1%) และเมทิลเซลลูโลส (0.5-1.5%)/ไคโตซาน (1%) พบว่า การเตรียมฟิลม์โดยใช้เมทิลเซลลูโลส 1.5% ร่วมกับไคโตซาน 1.0% และขึ้นรูปโดยวิธี casting technique โดยใช้โพลีเอทิลีนไกลคอล (PEG 400) เป็นพลาสติกไทเซอร์ มีความเหมาะสมมากที่สุดโดยฟิลม์มีความเหนียว ยืดหยุ่นเล็กน้อย และสามารถลอกออกจากพิมพ์ได้ง่าย จากนั้นแอนโทไซยานินที่สกัดจากข้าวก่่า (10-30%) จะถูกน่ามาผสมลงในส่วนผสมของฟิลม์พอลิเมอร์ผสมเมทิลเซลลูโลส/ไคโตซาน ท่าการศึกษาสมบัติทางกายภาพ สมบัติทางกล และการตอบสนองต่อค่าพีเอชในสารละลาย พีเอชมาตรฐาน (1-12) และในตัวอย่างอาหาร (ปลาหางแข็ง เนื้อสันในไก่ และสับปะรดหั่นชิ้น) ผลการศึกษาพบว่า ฟิลม์ที่เติมสารสกัดแอนโทไซยานิน (10-30%) มีความหนาของฟิลม์เพิ่มมากขึ้นและมีอัตราการซึมผ่านของไอน้ำลดลงลง การเติมสารสกัดแอนโทไซยานินโครงสร้างของฟิลม์แข็งแรงและมีความเป็นผลึกมากขึ้น โดยมีค่าแรงต้านทานการดึงขาดมากขึ้นและร้อยละการยืดตัวของฟิลม์ลดลง พีเอชอินดิเตอร์ฟิลม์สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงค่าพีเอชในสารละลายพีเอชมาตรฐานที่อยู่ในช่วง 112 ได้ โดยมีสีอยู่ในช่วงสีแดง (pH 1.0) ถึงสีเหลือง (pH 12.0) เมื่อเก็บรักษาตัวอย่างอาหารในสภาวะเร่ง (36 ± 2ºC) ฟิลม์สามารถบ่งชี้การเสื่อมคุณภาพของอาหารได้ โดยเปลี่ยนจากสีน้ำตาลอ่อนอมชมพู (สีเริ่มต้นของฟิลม์) ไปเป็นสีน้ำตาลเข้มอมส้ม (ปลาหางแข็ง) สีน้่าตาลเข้มอมเทา (เนื้อสันในไก่) และสีส้มอ่อน (สับปะรดหั่นชิ้น) จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการเติมสารสกัดแอนโทไซยานินจากข้าวก่ำลงในฟิลม์พอลิเมอร์ผสมของเมทิลเซลลูโลส/ไคโตซาน สามารถประยุกต์ใช้เป็นพีเอชอินดิเคเตอร์ส่าหรับบรรจุภัณฑ์ฉลาดได้